เลือกภาษา

X
นายกเทศมนตรี ที่มาและหน้าที่ตามกฎหมาย พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 สภาเทศบาลตำบลกลางใหญ่ ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มีประธานสภาเทศบาล 1 คน และรองประธาน 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิก สภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1. อำนาจเกี่ยวกับการนิติบัญญัติ
2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร (นายกเทศมนตรี)
2.1 ตั้งกระทู้ถามกรณีสมาชิก (สท.) สงสัยการบริหารงานของนายกเทศมนตรีที่ส่อไปทางจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน
2.2 เปิดอภิปรายต่อนายกเทศมนตรีซึ่งถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติงานไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่และความประพฤติเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง
3. อำนาจการอนุมัติงบประมาณประจำปีก่อนที่นายกเทศมนตรีจะดำเนินการใดในแต่ละปี ต้องนำงบฯ เข้าขออนุมัติต่อสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเพราะสภาเทศบาลโดยสมาชิกทุกคน เป็นตัวแทนของประชาชนในเขตเทศบาล สามารถควบคุมการจัดหารายได้ การใช้เงิน (ภาษี) ของประชาชน มิให้นายกเทศมนตรี (ฝ่ายบริหาร) นำไปใช้จ่ายในทางไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ทั้งนี้ สภาเทศบาล มีอำนาจปรับ - ลด งบประมาณฯ ได้ตามที่กฎหมายกำหนด หากโครงการงบประมาณฯ ตั้งงบสูงอย่างผิดปกติ
หน้าที่หลักของสมาชิกสภาเทศบาล
1) รับทราบนโยบายของผู้บริหารเทศบาล จากการรับฟังการแถลงนโยบาย แม้ว่าสมาชิกสภาเทศบาลจะไม่สามารถลงมติไว้วางใจได้ก็ตาม แต่สมาชิกสภาฯ ก็สามารถซักถามและอภิปรายนโยบายที่แถลงนั้นได้ ซึ่งจะเกิดผลขึ้นได้ในหลายประการ ได้แก่
ก. สมาชิกสภาเทศบาลในฐานะตัวแทนของเทศบาลพึงรับทราบว่านายกเทศมนตรีมีวิธีการหรือแนวทางในการบริหารงานเทศบาลอย่างไรบ้าง ซึ่งก็จะเป็นการผูกมัดให้นายกเทศมนตรีต้องบริหารงานเป็นไปตามนโยบายที่แถลงต่อสภาเทศบาล
ข. สมาชิกสภาเทศบาลสามารถซักถามและอภิปรายนโยบายของนายกเทศมนตรีในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวางทำให้การทำงานมีความโปร่งใสมากขึ้น ตลอดจนการทำงานจะมีความรอบคอบละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น
ค. สมาชิกสภาเทศบาลสามารถตรวจสอบการทำงานของนายกเทศมนตรีว่าได้ปฏิบัติตามนโยบายหรือไม่ อันอาจจะใช้เป็นช่องทางในการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
ง. นายกเทศมนตรีได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อนำมาปรับใช้ในการบริหารงานเทศบาล
2) การตรวจตราเทศบัญญัติต่างๆ (เทศบัญญัติในกิจการของสภาหรือเทศบัญญัติงบประมาณ) ที่จะกล่าวต่อไป
3) การควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร โดยวิธีการต่อไปนี้ ก. การเสนอญัตติ ข. การตั้งกระทู้ถามผู้บริหารเทศบาล (นายกเทศมนตรี,รองนายกเทศมนตรี) ค. การอภิปราย ง. การแปรญัตติ จ. การแต่งตั้งคณะกรรมการ (กรรมการสามัญประจำสภาและคณะกรรมการวิสามัญ)
4) การให้ความเห็นชอบ ในเรื่องต่อไปนี้
ก. การให้ความเห็นชอบในเรื่องของญัตติที่เสนอในที่ประชุมสภาเทศบาลเพื่อพิจารณา
ข. การให้ความเห็นชอบในเทศบัญญัติงบประมาณของเทศบาล (เทศบัญญัติงบประมาณประจำปีและเทศบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม)
5) มีมติให้สมาชิกสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 19 (7) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่เทศบาลหรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาเทศบาล โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่า 1/3 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3/4 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
6) มีมติให้ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 20 ทวิ (4) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2546 ที่บัญญัติ สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่า มีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่งหรือสภาเทศบาลปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติการ หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่า 1/3 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3/4 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
7) หน้าที่อื่นๆ อีกหลายบทบาทเช่น การแก้ไขปัญหาข้อเดือดร้อนของประชาชนด้านต่างๆ การดูแลทุกข์ของประชาชนทั่วๆ ไป การเป็นผู้นำให้ท้องถิ่น การรักษาผลประโยชน์ให้ท้องถิ่น การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเป็นที่พึ่งและศูนย์รวมจิตใจของท้องถิ่น เป็นต้น
|
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562
ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(2/1) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
1.ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4.ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
9.เทศพาณิชย์
|
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่
ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้ 1.การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2.การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3.การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4.การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
5.การสาธารณูปการ
6.การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
7.การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
8.การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9.การจัดการศึกษา
10.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11.การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14.การส่งเสริมการกีฬา
15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25.การผังเมือง
26.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28.การควบคุมอาคาร
29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
31.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
กองการศึกษา กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารศึกษาและพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยให้มีงานธุรการ งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศ งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุดพิพิธภัณฑ์และเครือข่ายทางการศึกษา งานกิจการ ศาสนา ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงโรงเรียน และงานอื่นๆ ทีอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย กองการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้ 1. ฝ่ายบริหารการศึกษา มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานการศึกษาปฐมวัย งานบริหารวิชาการ งานนิเทศการศึกษา และงานธุรการ 1.1 งานการศึกษาปฐมวัย มีหน้าที่เกี่ยวกับ 1) การจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนหรือศูนย์การเรียน 2) ส่งเสริม สนับสนุน ด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรให้แก่บุคคล ครอบครัว หน่วยงานสถานประกอบการในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหรือบุคคลที่อยู่ในการดูแล ให้ได้รับการพัฒนาและสามารถจัดการศึกษาปฐมวัยได้ตามความเหมาะสม 3) จัดการศึกษาแบบบูรณาการและแบบองค์ความรู้โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับการศึกษา 4) จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และธรรมชาติของวัยของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด 5) จัดให้มีระบบความร่วมมือระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองครอบครัวสถานประกอบการ องค์กรหรือสถาบันอื่นในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย 6) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดบรรยากาศการเรียนการสอน การจัดสื่อการเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ โดยผู้เรียนผู้สอนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน 7) จัดให้มีการวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 8) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ได้มีส่วนช่วยบริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่น รวมทั้งรับภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาของเทศบาล 9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย 1.2 งานบริหารวิชาการ มีหน้าที่เกี่ยวกับ 1) งานวางแผนกำหนดแนวทางปฏิบัติงาน วินิจฉัย สั่งการ ประสานงานและตรวจสอบควบคุมการดำเนินงาน 2) งานประเมินผลและรายงานการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษา ด้านการบริหารและส่งเสริมทางด้านการบริหารทั่วไปและด้านวิชาการ 3) งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร 4) งานจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทางการศึกษา และการทดลองวิจัยทางการศึกษา 5) งานส่งเสริมและเผยแพร่การศึกษาและวิชาการ 6) งานประสานงานในการดำเนินงานทางการศึกษากับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 7) งานจัดทำรายงานการศึกษาหรือวัดผลการศึกษาและสถิติของชั้นเรียน 8) งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา 9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย 2. ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ งานการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจการศาสนาและงานส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรม 2.1 งานการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย มีหน้าที่เกี่ยวกับ 1) งานสำรวจ รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย 2) งานเกี่ยวกับการศึกษาผู้ใหญ่ และวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาที่นอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ หรือการศึกษาที่เกิดจากประสบการณ์ จากการปฏิบัติงานหรือการประกอบอาชีพ 3) งานการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ การเผยแพร่ข่าวสาร และเอกสารต่าง ๆ แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป 4) งานส่งเสริมคุณภาพและควบคุมมาตรฐานการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย 5) งานควบคุม ตรวจสอบ ติดตามผล การวัดผล การประเมินผลการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย 6) งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส 7) งานติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย 2.2 งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน มีหน้าที่เกี่ยวกับ 1) งานพัฒนาเยาวชนให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ 2) งานศูนย์เยาวชน 3) งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และเครือข่ายทางการศึกษา 4) งานส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิเด็กเยาวชนและมนุษยชน 5) งานส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6) งานควบคุม ตรวจสอบ นิเทศ ติดตามผล วัดผลและประเมินผลกิจกรรมเยาวชน 7) งานส่งเสริมการดำเนินการป้องกันยาเสพติด 8) งานชุมชนต่าง ๆ เช่น การอยู่ค่ายพักแรม 9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ตามที่ได้รับมอบหมาย 2.3 งานกีฬาและนันทนาการ มีหน้าที่เกี่ยวกับ 1) จัดตั้งและสนับสนุนให้มีศูนย์เยาวชน ลานกีฬา สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน 2) จัดและส่งเสริมการจัดกีฬาเพื่อมวลชนกีฬาพื้นเมือง กีฬาพื้นบ้าน 3) จัดกิจกรรมกีฬาสำหรับบุคคลกลุ่มพิเศษอย่างเหมาะสมและเพียงพอ 4) จัดฝึกกีฬาขั้นพื้นฐาน โดยผู้ฝึกสอนที่มีความชำนาญด้านกีฬาแต่ละประเภท ตามความพร้อมและความเหมาะสม เช่น กีฬาฟุตบอล เป็นต้น 5) ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและจัดตั้งชมรม สมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกีฬา และนันทนาการ 6) จัดให้มีหรือส่งเสริมการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ เช่น ฟุตบอล เปตอง กีฬาพื้นบ้าน 7) จัดให้มีการรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน รักการกีฬา การออกกำลังกาย การนันทนาการอย่างต่อเนื่อง 8) ดำเนินการจัดตั้งหรือสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ และสวนสาธารณะ เป็นต้น 9) จัดกิจกรรมให้เด็ก เยาวชน มีความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในแง่แนวความคิด และวิถีชีวิตประจำวัน 10) จัดกิจกรรมให้เด็ก เยาวชน ได้มีความตระหนัก ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย 2.4 งานส่งเสริมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับ 1) ดำเนินการบำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวิทยาการ และมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น 2) ส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอดการเผยแพร่ และการเรียนรู้คุณค่าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น 3) ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมของท้องถิ่น 4) จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น ให้มีความรักและหวงแหนศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) จัดตั้งหรือส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 6) จัดสรรทรัพยากรและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลรักษา บูรณะศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และศิลปกรรมท้องถิ่น 7) จัดให้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ที่เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยและท้องถิ่น 8) จัดสรรงบประมาณอุดหนุนองค์กร ชุมชน สมาคมที่จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม 9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตำบล อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2546) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้ 1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนด ได้แก่ 1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2. ให้มีและบำรุงทางบกและทาง 3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ 5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง 6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม 7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ 8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9. หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล 2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนด อำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลลำทับอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่ 1. ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา 2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์ 3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม 4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน 5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร 6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ 7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 8. ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า 9. เทศพาณิฃย์ 3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้าและทางระบายนํ้า 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ 7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22. การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณะอื่นๆ 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25. การผังเมือง 26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28. การควบคุมอาคาร 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 31. กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 4. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนด นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2546 กำหนดไว้แล้วยังกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น - พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534- พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 - พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495 - พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 - พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 - พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535 - พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 - พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 - พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 - พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 - พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522 - พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 - พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526 - พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528 อำนาจหน้าที่ของเทศบาลโดยสรุป 1.รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางนํ้า 3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ 5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง 6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม 7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ 8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9. ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา 10. ให้มีโรงฆ่าสัตว์ 11. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้ 12. ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า 13.ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ 14. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 15. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น 16. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
กิจการที่อาจจัดทำในเขตเทศบาล 1. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม 2. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน 3. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร 4. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก 5. ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล 6. ให้มีการสาธารณูปการ 7. จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข 8. จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา 9. ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา 10. ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 11. ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น 12. เทศพาณิชย์ นอกจากนี้ เทศบาลยังมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ.2542 ดังนี้ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้า และทางระบายนํ้า 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ 5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ 7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 23. การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25. การผังเมือง 26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28. การควบคุมอาคาร 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกองช่าง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบการตรวจสอบ การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย การบริหารงาน กองช่าง ประกอบด้วย 3 ส่วน 7 ฝ่าย คือ 1.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป - งานธุรการ - งานการเงินและบัญชี 2. ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้ 2.1 ฝ่ายควบคุมอาคาร - งานควบคุมอาคาร 2.2 ฝ่ายผังเมือง - งานควบคุมผังเมือง 3. ส่วนควบคุมการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้ 3.1 ฝ่ายวิศวกรรมโยธา - งานวิศวกรรมโยธา 3.2 ฝ่ายสถาปัตยกรรม - งานสถาปัตยกรรม 4. ส่วนการโยธา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้ 4.1 ฝ่ายสาธารณูปโภค - งานบำรุงรักษาทางและสะพาน 4.2 ฝ่ายศูนย์เครื่องจักรกล - งานศูนย์เครื่องจักรกล อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 งาน ดังนี้ - งานสารบรรณ 1.2 งานการเงินและบัญชี - ควบคุมตรวจสอบ หลักฐานเอกสารต่างๆ ในการจัดทำฎีกา เบิกจ่ายเงิน ส่วนควบคุมอาคารและแผนผังเมือง แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ 1. ฝ่ายควบคุมอาคาร แบ่งออกเป็น 2 งาน ดังนี้ 1.1 งานควบคุมอาคาร - งานควบคุมการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 1.2 งานขออนุญาตอาคาร - งานตรวจสอบแก้ไขปัญหาเรื่องราวและการให้บริการประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร 2. ฝ่ายผังเมือง ดังนี้ - งานควบคุมผังเมือง - งานควบคุมหน้าที่แนวเขตถนน ทางสาธารณและที่ดินสาธารณะประโยชน์ - งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางบกและทางน้ำ - งานตรวจสอบการพัฒนาโครงการผังเมือง ให้ปฏิบัติตามผังเมืองรวม - งานจัดทำผังเมืองรวม / เฉพาะ - งานพัฒนาและปรับปรุงชุมชนแออัด - งานสำรวจและรวบรวมข้อมูลด้านผังเมือง - งานให้คำปรึกษาด้านผังเมืองและสิ่งแวดล้อม - งานเวนคืนหรือจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน - งานแผนที่ภาษี - งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย ให้บริการประชาชนในด้านการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร โดยดำเนินการตามขั้นตอนในการตรวจแบบแปลน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้บริการประชาชนในด้านการยื่นขออนุญาตรับรองการก่อสร้างอาคาร , การยื่นขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร , การขออนุญาตต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้าง , การขอโอนใบอนุญาต , การตรวจพิจารราด้านการขออนุญาตก่อสร้างสถานบริการประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง ตาม พ.ร.บ. น น้ำมันเชื้อเพลิง , การตรวจพิจารณาด้านการขออนุญาตขุดดินถมดิน , งานจัดการทำข้อมูลการขออนุญาตส่งให้ทางผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร - แบบแปลน จำนวน 5 ชุด - หนังสือรับรองประกอบวิชาวิศวกรรมและ / หรือสถาปัตยกรรม (กรณีที่อาคารเข้าข่ายการควบคุมวิศวกรรมและ / หรือสถาปัตยกรรม)
หมายเหตุ - สำเนาเอกสารต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง แบบแปลน จำนวน 5 ชุด มีรายละเอียดประกอบดังนี้ 1. มาตราส่วนขนาดระยะน้ำหนักและหน่วยในการคำนวณต่างๆให้ใช้มาตราเมตริก - แบบแปลนพื้นชั้นต่างๆ ผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณต้องลง ลายมือชื่อ พร้อมกับเขียนชื่อ ที่อยู่ ตัวบรรจง และหมายเลขทะเบียนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพในแผนผังบริเวณแบบแปลน รายการประกอบ แบบแปลนทุกแผ่น ค่าธรรมเนียมและใบอนุญาต - ค่าใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน (คิดตามพื้นที่ของอาคาร) - อาคารซึ่งสูงไม่เกินสองชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 เมตร ตารางเมตรละ 0.50 บาท การต่ออายุใบอนุญาต ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารจะมีอายุ ตามที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาต เท่านั้น ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตมีความประสงค์จะขออนุญาต จะต้องยื่นคำ ขอต่ออายุต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ ระยะเวลาพิจารณาคำขออนุญาต ในการตรวจพิจารณาการขออนุญาตก่อสร้าง ,ดัดแปลง , รื้อถอน , เคลื่อนย้าย , การขอใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร นับแต่วันที่ยื่นคำขอจนถึงวันที่ออกใบอนุญาต ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน ทั้งนี้แปลนแผนผัง รายการ ประกอบแบบ และอื่นๆ ที่ได้ยื่นไว้เพื่อความถูกต้องและเป็นไปตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ 2535 เมื่อผู้ขออนุญาตทำการแก้ไขแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจแบบตามขั้นตอนและระยะเวลา ต่อไป ส่วนควบคุมการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายวิศวกรรมโยธา แบ่งออกเป็น 2 งาน ดังนี้ 1.1 งานวิศวกรรมโยธา - ออกแบบคำนวณงานด้านวิศวกรรมถนนและสะพาน 1.2 งานวิศวกรรมโยธา - ออกแบบคำนวณงานด้านวิศวกรรม งานอาคารและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ 2. ฝ่ายสถาปัตยกรรม แบ่งออกเป็น 1 งาน ดังนี้
ส่วนการโยธา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสาธารณูปโภค แบ่งออกเป็น 4 งาน ดังนี้ 1.1 งานบำรุงรักษาทางและสะพาน - งานด้านการก่อสร้างซ่อมแซมและบำรุงรักษาทางและสะพาน 1.2 งานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ - งานควบคุมพัสดุสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ 1.3 งานเรือนเพาะชำและขยายพันธุ์ - งานดูแล บำรุงรักษาต้นไม้ พันธุ์ไม้ต่างๆ 1.4 งานควบคุมและบำรุงรักษาสถานที่ - งานควบคุม ตรวจสอบ ซ่อมบำรุงรักษาระบบน้ำรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ 2.1 ฝ่ายศูนย์เครื่องจักรกล แบ่งออกเป็น 1 งาน ดังนี้ - งานควบคุมการใช้ยานพาหนะและเครื่องจักรกล
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาล และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การบริหารงาน สำนักการคลัง ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน 7 ฝ่าย คือ 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2.1 ฝ่ายการเงินและบัญชี - งานการเงินและบัญชี 2.2 ฝ่ายระเบียบและสถิติการคลัง - งานระเบียบการคลัง 3. ส่วนพัฒนารายได้ 3.1 ฝ่ายพัฒนารายได้ - งานพัฒนารายได้ 3.2 ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน - งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน 4. ส่วนพัสดุ 4.1 ฝ่ายจัดหาพัสดุ - งานจัดซื้อจัดจ้าง 4.2 ฝ่ายทะเบียนพัสดุ - งานทะเบียนพัสดุ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ปฏิบัติงานด้านธุรการ งานสารบรรณ งานสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้าง และงานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินของสำนักการคลัง ส่วนบริหารงานคลัง แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย 1.ฝ่ายการเงินและบัญชี แบ่งออกเป็น 2 งาน คือ 1.1 งานการเงินและบัญชี มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทุกประเภท 1.2 งานเงินเดือนบำเหน็จบำนาญสวัสดิการและการเบิกจ่าย มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - จัดทำฐานข้อมูลการรับเงินเดือน บำเหน็จบำนาญและค่าตอบแทนของพนักงานเทศบาล พนักงานครูเทศบาลและข้าราชการถ่ายโอน - จัดทำและตรวจสอบฎีกาเบิกจ่ายเงินเดือน เงินบำนาญ และค่าตอบแทนที่จ่ายเป็นรายเดือน 2. ฝ่ายระเบียบและสถิติการคลัง แบ่งออกเป็น 2 งาน คือ 2.1 งานระเบียบการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - ควบคุมการตรวจสอบว่าการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน 2.1 งานสถิติการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - จัดทำสถิติรายรับและรายจ่ายจริงประจำปีงบประมาณ ส่วนพัสดุ แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย 1. ฝ่ายจัดหาพัสดุ แบ่งออกเป็น 2 งาน คือ 1.1 งานจัดซื้อจัดจ้าง มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - จัดทำแผนจัดหาพัสดุของเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยรวบรวมจากทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบและหนังสือสั่งการ - จัดทำข้อมูลสถิติสรุปผลการจัดหาพัสดุ 1.2 งานสัญญาและหลักประกัน - ควบคุมและจัดทำสัญญาจ้าง/ สัญญาซื้อขายและข้อตกลงจ้าง/ข้อตกลงซื้อ 2. ฝ่ายทะเบียนพัสดุ แบ่งออกเป็น 2 งาน คือ 2.1 งานทะเบียนพัสดุและทรัพย์สิน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - จัดทำทะเบียนควบคุมทรัพย์สินทั้งหมดของเทศบาลเมืองมาบตาพุด 2.2 งานบำรุงรักษาและซ่อมแซมทรัพย์สิน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพย์สินทั้งหมดของเทศบาล ส่วนพัฒนารายได้ แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย 1. ฝ่ายพัฒนารายได้ แบ่งออกเป็น 2 งาน คือ 1.1 งานพัฒนารายได้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมิน และกำหนดค่ารายปีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน 1.2 งานผลประโยชน์ - จัดทำสัญญาเช่าการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สิน 2. ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน แบ่งออกเป็น 2 งาน คือ 2.1 งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน - จัดทำแผนที่แม่บท แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ทั้งระบบเอกสารและระบบสารสนเทศ 2.2 งานบริการข้อมูล - ให้บริการข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการค้นหาตำแหน่งข้อมูล
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใดในเทศบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล โดยมีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักปลัดเทศบาล ออกเป็น 2 ฝ่าย 8 งาน ดังนี้ 1. ฝ่ายอำนวยการ 1.1 งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบุคคลของพนักงานเทศบาล และลูกจ้าง เช่น การขอกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน การวางแผนงานบุคคล การพัฒนาบุคลากร การจัดทำแผนอัตรากำลัง การออกจากราชการ การดำเนินการเรื่องการขอรับบำเหน็จบำนาญ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย 1.2 งานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการ งาน สารบรรณ งานเลขานุการ งานการประชุม เช่น การจัดทำระเบียบวาระและรายงานการประชุม สภาเทศบาลและคณะกรรมการต่างๆ ของสภาเทศบาล งานเลือกตั้ง งานรัฐพิธี งานการลา งานรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ งานประสานงานหน่วยงานอื่น การดำเนินการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลา งานสาธารณกุศลของเทศบาล และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย 1.3 งานวิเคราะห์นโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยว กับงานวิเคราะห์นโยบายและแผน การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การประสานงานจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด งานศูนย์ข้อมูลการพัฒนาจังหวัด งานคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล และคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล งานการจัดเตรียมเอกสารแนวทางในการปฏิบัติงานประจำปีให้หน่วยงานต่างๆ ทราบ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย 1.4 งานจัดทำงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการ การรวบรวมข้อมูล สถิติและวิเคราะห์งบประมาณ การเสนอแนะและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาล และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย 1.5 งานนิติการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานทางกฎหมาย เช่น การพิจารณา วินิจฉัยปัญหากฎหมาย ร่าง และพิจารณาตรวจร่างเทศบัญญัติ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จัดทำนิติกรรม รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางคดี การสอบสวน ตรวจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับวินัยพนักงานเทศบาลและการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย 1.6 งานทะเบียนราษฎร มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2535 เช่น การแจ้งเกี่ยวกับบ้านและทะเบียนบ้าน การแจ้งการเกิด การแจ้งการตาย การแจ้งการย้ายที่อยู่ การเพิ่มชื่อและจำหน่ายชื่อ การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย การคัดและรับรองสำเนา การเปรียบเทียบคดีความผิดเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย 1.7 งานพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสำรวจและจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน เพื่อรับผิดชอบในการปรับปรุงชุมชนของตนเอง งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบชุมชน งานประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำบริการขั้นพื้นฐานไปบริการประชาชน งานจัดทำโครงการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ให้แก่ชุมชน งานดำเนินการพัฒนาชุมชนทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม การศึกษา การอนามัยและสุขาภิบาล การสำรวจข้อมูลพื้นฐานอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดระบบสารสนเทศ สำรวจและจัดลำดับความต้องการในการพัฒนาอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น จัดให้มีการให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ การจัดการให้เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น การจัดทัศนศึกษาดูงาน และส่งบุคลากรรับความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาและเผยแพร่ การจัดตั้งกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มผู้สนใจ สมาคม ชมรม อาชีพต่างๆ จัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าท้องถิ่น รวมทั้งสินค้าท้องถิ่นอื่นๆ งานสงเคราะห์ประชาชน ผู้ทุกข์ยากขาดแคลนไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ คนชรา คนพิการ และทุพพลภาพ สงเคราะห์ครอบครัวและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในครอบครัวส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรสังคมสงเคราะห์ภาคเอกชน งานสำรวจวิจัยสภาพปัญหาสังคมต่างๆ งานส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีและสงเคราะห์หญิงบางประเภท งานประสานและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการสังคมสงเคราะห์ งานให้คำปรึกษา แนะนำในด้านสังคมสงเคราะห์แก่ผู้มาขอรับการช่วยเหลือ และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย 2. ฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบ 2.1 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น การเตรียมแผนป้องกันและฝึกอบรมการเตรียมความพร้อม กรณีเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย การฟื้นฟูหลังเกิดภัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย |
สำนักงานเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอม เลขที่ 60 หมู่ที่ 10 ตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี 41290 |
|||
Email : nongwaengkaemhom@gmail.com โทรศัพท์ : 042219212-5 โทรสาร : 042219213 เว็บไซต์หน่วยงาน : www.nongwaeng-kaemhom.go.th |
|||
Copyright © 2022. www.nongwaeng-kaemhom.go.th All Rights Reserved. |
ออกแบบและพัฒนาโดย...www.jewelryitem.com รับทำเว็บไซต์หน่วยงานท้องถิ่น (เทศบาล,อบต.) Email : jewelryitem7749@gamil.com
โทร.080-0071702 (K.โจ) Line ID : jewelryitem